เพิ่มศักยภาพทางการศึกษา ด้วยคอมพิวเตอร์โดดเด่นและเหนือกว่า
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี,
ASUS ExpertCenter D641SC
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของการศึกษา คือการฝึกฝนให้นักเรียนนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริงก่อนสำเร็จการศึกษาสู่โลกการทำงาน โดยเฉพาะในสาขาที่ต้องอาศัยความรู้ผนวกเข้ากับความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี ความที่เป็นมหาวิทยาลัยที่ผลิตบัณฑิตทางเทคโนโลยี ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จึงเน้นนโยบายทางการเรียนการสอนที่ได้ฝึกฝนภาคปฏิบัติในแทบทุกรายวิชา โดยมีเครื่องมือสำคัญที่ขาดไม่ได้คือคอมพิวเตอร์ที่ประสิทธิภาพสูงเพื่อตอบโจทย์การใช้งาน
อาจารย์เฉลิมศักดิ์ ถาวรวัตร์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างของภาควิชาฯ ว่าแยกแขนงการเรียนการสอนออกเป็น 2 วิชาเอก ได้แก่ วิชาเอกวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์ และวิชาเอกระบบการผลิตอัตโนมัติ โดยนักศึกษาวิชาเอก จะต้องเรียนรู้เรื่องระบบอัตโนมัติต่างๆ เช่น ระบบออโตเมติกส์ (Automatic) ในการส่งผ่านชิ้นงาน จนถึงเรื่องหุ่นยนต์ (Robots) เป็นต้น สำหรับนักศึกษาวิชาเอกวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์ จะมุ่งเน้นเรียนรู้เรื่องการบริหารและควบคุมกระบวนการผลิตภายในโรงงนอุตสาหกรรม ตลอดจนการวางแผนการผลิต การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต การออกแบบวางผังโรงงาน รวมถึงการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน เพื่อประสิทธิภาพที่สูงสุด
“ในการเรียนการสอนด้านนี้จะต้องใช้งานโปรแกรมหลากหลาย หากเป็นโปรแกรมด้านการวิเคราะห์สถิติเชิงตัวเลขก็จะใช้โปรแกรมทั่วไป ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีสเปกแบบทั่วไป แต่ถ้าเป็นโปรแกรมเฉพาะ ก็มีหลายตัวที่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่สเปกแรง อย่างการเขียนแบบออกแบบที่ต้องการเครื่องที่ศักยภาพสูง ทั้งตัวประมวลผล หน่วยความจำ หรือกระทั่งจีพียู (GPU : Graphics Processing Unit) ยกตัวอย่างในวิชาเอกวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์จำเป็นมากที่ต้องใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยส่งเริมการทำงาน เนื่องจากนักศึกษาต้องใช้เรียนรู้ตั้งแต่การวิเคราะห์ การคำนวณ ระบบซิมูเลชั่น (Simulation) เราจึงเน้นสอนเรื่องการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพมากขึ้น”
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ยังปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2563 ให้ทันยุคสมัยมากขึ้น โดยจัดให้มีภาคปฏิบัติในแทบทุกรายวิชา รวมถึงมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนการสอนถึง 3 ห้องเรียน
ASUS ExpertCenter D641SC กับ CPU Core i7 คือคำตอบที่ใช่!
|
การมองหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ยังสอดคล้องทั้งการเรียนการสอน และเทรนด์ของโลกที่กำลังก้าวสู่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ IOT หรือ Internet of Things ด้วย วันนี้ ASUS ExpertCenter D641SC จึงเป็นคำตอบของภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ความน่าสนใจคือ การใช้พลังจากโปรเซสเซอร์ Intel® Core i7-9700 พร้อมหน่วยความจำ DDR4 ที่รวดเร็ว สามารถโหลดแอปและเปิดไฟล์ได้เร็วขึ้นสำหรับการทำงานมัลติทาสก์ที่ราบรื่น นอกจากนี้ยังเสริมด้วยกราฟิกการ์ดของ NVIDIA เพิ่มประสิทธิภาพกราฟิกสำหรับงานที่ต้องการความต้องการด้านกราฟิกที่สูงอย่าง โปรแกรมซิมูเลชั่น (Simulation) ในการเรียนการสอน |
“หัวใจหลักของคอมพิวเตอร์ คือ ซีพียู ด้วยเหตุผลนี้เราจึงพยายามเลือกใช้งานคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมูลผลศักยภาพสูง ขณะเดียวกันก็ต้องอยู่ในงบประมาณที่เป็นไปได้ ซึเมื่อพิจารณาแล้วก็พบว่า Intel® Core i7 ใน ASUS ExpertCenter D641SC ค่อนข้างตอบโจทย์การใช้งานของเรา ถ้าใช้ซีพียูที่ต่ำกว่านี้การประมวลผลในการใช้งานของเราก็อาจจะช้าไป รวมถึงขนาดและดีไซน์ก็เป็นเหตุผลของการเลือกในครั้งนี้ด้วย ความกะทัดรัดของเครื่องจำเป็นมาก เนื่องจากพื้นที่ห้องเรียนค่อนข้างจำกัด หากเป็นไปได้เราจึงพยายามลดขนาดของอุปกรณ์ลงเพื่อให้เหลือพื้นที่ในการใช้งานด้านอื่นมากขึ้น”
อาจารย์เฉลิมศักดิ์กล่าวทิ้งท้ายว่า เหตุผลที่เลือก ASUS ยังรวมถึงความเชื่อมั่นและความไว้วางใจในแบรนด์ “ASUS เป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียงมายาวนาน รวมถึงได้รับความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ด้านคอมพิวเตอร์กับผู้บริโภค เรียกว่าเป็นแบรนด์ที่ไว้วางใจได้ และอยากแนะนำต่อสำหรับคนอื่นๆ แน่นอนครับ
หลังจากนี้ ASUS ExpertCenter D641SC จะได้กลายมาเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์เทคโนโลยีชิ้นสำคัญในภาคการศึกษา และผลิตบัณฑิตคุณภาพออกสู่โลกของการทำงานอีกมาก ถือเป็นความภาคภูมิใจส่วนหนึ่งของ ASUS เช่นกัน